วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ราชาเมืองหนัง เมเจอร์แบรนด์ไทยเต็มร้อย




บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นและพัฒนาสู่การเป็น “ศูนย์รวมความบันเทิงสำหรับชีวิตคนรุ่นใหม่” โดยมีธุรกิจหลักได้แก่ ธุรกิจโรงภาพยนตร์, ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และลานสเก็ตน้ำแข็ง, ธุรกิจให้บริการสื่อโฆษณา, ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าและบริการ และธุรกิจการจัดจำหน่ายภาพยนตร์






มีด้วยหรือ เมื่อยี่ห้อไทยๆ สามารถคิดค้นกลยุทธ์ในแบบฉบับของตัวเองจนรบชนะฝรั่งจาน้ำข้าว ต้องถอนทุนกลับบ้านไปอย่างชอกช้ำ โดยใช้เวลาเพียง 6 – 7 ปี เท่านั้น ??

มีครับ!!!

มีด้วยหรือที่ยี่ห้อไทยๆ สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจดั่งภูผา จนนักลงทุนต่างประเทศยอมรับนับถือในฝีไม้ลายมือและปารถนาจะร่วมเป้นผู้ถือหุ้น

มีครับ!!!

มีด้วยหรือที่ยี่ห้อไทยๆ ที่เรากำลังจะพูดถึงกันอยู่นี้ยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีใครเคยนึกฝันว่า คนไทยเราจะเก่งกาจถึงขนาดเอาชนะนักลงทุนจากแดนไกลได้อย่างหมดจด อีกทั้งเป็นข้อที่พิสูจน์ว่าฝรั่งไม่ได้เก่งกาจไปเสียทุกเรื่อง

ยี่ห้อไทยๆ ที่ผมกำลังนำพาคุณผู้อ่านไปรู้จักอยู่ก็คือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของ “วิชา พูลวรลักษณ์”คลื่นลูกใหม่ที่กำลังมาแรงเป็นอย่างยิ่งสำหรับแวดวงธุรกิจบันเทิง

น่าแปลกใจใช่ไหมว่า เหตุใดคนไทยถึงได้ทำธุรกิจโรงหนังในแบบฉบับของมัลติเพล็กซ์ที่มีโรงหนังจุดเดียวกันหลายๆโรงได้ดีกว่าฝรั่ง ในเมื่อธุรกิจถูกคิดค้นขึ้นโดยฮอลลิวูด ในเมื่อฮอลลิวูดอีกเช่นกัน ส่งภาพยนตร์เป็นสินค้าออกมาตีตลาดทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าปีๆหนึ่งเป็นมูลค่าหลักแสนล้าน

แต่คนไทยทำสำเร็จ


คำตอบก็คือ เป็นเพราะยี่ห้อไทยๆ ยี่ห้อนี้อ่านใจผู้บริโภคได้ทะลุปรุโปร่งกว่าฝรั่ง เมื่อมองทะลุงไปถึงข้างใน สารพัดกลยุทธ์ที่ออกมาจึงสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ ส่งผลให้เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ผงาดขึ้นมาอยู่แถวหน้า

เหนือกว่าอีจีวีซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมทุนของ 3 ฝ่าย ไทย จีน ฝรั่ง

เมื่อมองลึกลงไปในเมเจอร์จะพบว่า "วิชา" อยู่ในกลุ่มคนหนุ่มที่ลูกไม้หล้่นไม่ไกลต้นและคลุกคลีกับธุรกิจโรงหนังมาแต่อ้อนแต่ออก ย้อนไปเมื่อราว 30- 40 ปีที่แล้ว โรงหนังเมืองกรุงและย่านชานเมืองตกอยู่ภายใต้ความครอบครองของสี่พี่น้อง เจริญ จำเริญ เกษม จรัล พูลวรลักษณ์ ที่มีกำเหนิดมาจากโรงหนังศรีตลาดพลู

ต่อมาได้มีการแยกตัวกัน แม้จะเป็นพี่เป็นพี่เป็นน้องกัน แต่พี่น้องตระกูล วรลักษณ์ จะรบพุ่งกันอย่างเมามัน และต่อเนื่องจนมาถึงรุ่นลูก ถึงแม้ว่าจะเป็นเครือญาติ แต่ธุรกิจคือธุรกิจ อีกทั้งธุรกิจโรงหนัง เป็นประเภทที่ใครดีใครได้อยู่แล้ว

โรงภาพยนตร์ในรูปแบบซีนีเพล็กซ์ (Cineplex) สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2538 โดยคุณวิชา พูลวรลักษณ์ ในรูปแบบของ Standalone ที่สาขาปิ่นเกล้า โรงภาพยนตร์รูปแบบนี้ได้รวมทั้งโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิงไว้ด้วย กัน ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสทั้งจากจำนวนภาพยนตร์ที่หลากหลายและร้านค้า ร้านอาหารที่เรียงรายให้เลือกมากมาย ส่งผลให้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ที่สาขาปิ่นเกล้านี้ กลายเป็นแหล่งบันเทิงทางเลือกใหม่ของชาวเมืองกรุงนับแต่นั้นมา ในช่วง 3 ปีต่อมา โรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone จึงเกิดขึ้นตามมาอีก 3 สาขา ได้แก่ สาขาสุขุมวิท สาขารัชโยธิน สาขารังสิต


นอกเหนือจากโรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone แล้ว บริษัทฯยังขยายสาขาในอีก 3 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบห้างสรรพสินค้า
  • รูปแบบศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์
  • รูปแบบศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์

ในอดีต การขยายสาขาในรูปแบบห้างสรรพสินค้าเป็นที่นิยมเนื่องจาก ห้างสรรพสินค้ามีอัตราการเติบโตที่สูงมาก ฮีกทั้งยังสามารถประหยัดเงินลงทุนได้มากกว่าการขยายสาขาแบบ Standalone อย่างไรก็ตามการเติบโตของห้างสรรพสินค้าเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ปัจจุบันการพัฒนาห้าง ต้องใช้เวลากว่า 3-4 ปี

ด้วยสาเหตุดังกล่าว บริษัทฯจึงเพิ่มรูปแบบการขยายสาขาอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แบบศูนย์การค้า ไลฟ์สไตล์ มอลล์ตั้งแต่ปี 2547 โดยการเข้าไปร่วมลงทุนใน บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ซึ่งใช้เนื้อที่ในด้วยสาเหตุดังกล่าว บริษัทฯจึงเพิ่มรูปแบบการขยายสาขาอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แบบศูนย์การค้า ไลฟ์สไตล์ มอลล์ตั้งแต่ปี 2547 โดยการเข้าไปร่วมลงทุนใน บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ซึ่งใช้เนื้อที่ใน

จากกระแสความนิยมในการรับชมภาพยนตร์และมีโรงภาพยนตร์เป็นผู้เช่าหลัก ธุรกิจของบมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จึงสามารถเติบโตได้กว่า 10 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบัน บริหารพื้นที่เช่าสูงกว่า 230,000 ตารางเมตร ก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อทางบริษัทฯ คือสามารถเข้าไปตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน สามารถให้สะดวกต่อผู้ชมภาพยนตร์โดยที่ไม่ต้องเดินทางไกล สำหรับผลดีต่ บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ก็คือ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการได้หลากหลายมากขึ้นด้วยโรง ภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งที่มีในศูนย์การค้า

อีกทางเลือกของการพัฒนารูปแบบสาขาของบริษัทฯ คือการเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งโดยเป็นผู้เช่าหลัก ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รูปแบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในต่างจังหวัด เพราะห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยสำหรับ คนต่างจังหวัด แต่ยังเป็นจุดนัดพบ ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับครอบครัวอีกด้วย โดยบริษัทฯได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สองแห่ง ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์

ปัจจุบัน บริษัทฯครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80 % ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย เป็นผลมาจากการควบรวมกิจการกับบมจ. อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในปี 2547 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด ณ ขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 23%

ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ มีแบรนด์ในเครือทั้งสิ้น 4 แบรนด์ ดังนี้

  • เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
  • อีจีวี ซีนีม่า
  • พารากอน ซีนีเพล็กซ์
  • เอสพละนาด ซีนีเพล็กซ์

บริษัทฯ มีสาขารวมทั้งสิ้น 46 สาขา 344 โรง สามารถรองรับผู้ชมได้ 84,450 ที่นั่ง ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยยังมีจำนวนโรงภาพยนตร์ต่อจำนวนประชากรอยู่ในระดับ ต่ำ บริษัทฯจึงมีแผนขยายโรงภาพยนตร์เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรอีกปีละ 30-40 โรง เพื่อให้ครอบคลุม

ทุกพื้นที่ของประเทศ

โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ มุ่งเน้นให้บริการลูกค้าในทุกระดับชั้น มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ และเพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้สัมผัสถึงความหลากหลายของโรงภาพยนตร์ในรูปแบบ ต่างๆ บริษัทฯจึงเน้นตกแต่งสาขาด้วยรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละแห่ง โดยใช้รูปแบบการตกแต่งภายในโรงภาพยนตร์ด้วยแนวทางการออกแบบระดับสากลตามสถาน ที่ที่ได้รับความนิยมสูงทั่วโลก เพื่อให้ผู้ชมภาพยนตร์ได้สัมผัสถึงอรรถรสนั้น โดยที่มิต้องเดินทางไป อย่างเช่น การตกแต่งสไตล์ ลาสเวกัส เป็นต้น



สำหรับลูกค้าในระดับพรีเมี่ยม บริษัทฯได้มีการออกแบบและตกแต่งโรงภาพยนตร์ระดับหกดาว เพื่อสนองการใช้ชีวิตที่เหนือระดับไว้ที่โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ อย่างเช่น โรงภาพยนตร์โนเกีย อัลตร้า สกรีน 1 ที่ตกแต่งด้วยเบาะหนังแท้ที่ปรับเอนนอนได้ และมีบริการหมอนและผ้าห่มให้พร้อมสรรพทุกที่นั่ง นอกจากนี้ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ยังเปิดให้บริการโรง ภาพยนตร์ “อินิกม่า เดอะ ชาโดว์ สกรีน” อีกนวัตกรรมหนึ่งที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสมาชิก ภายในประกอบด้วยห้องรับรองพิเศษพร้อมบาร์เครื่องดื่ม และโรงภาพยนตร์สุดหรูขนาด 34 ที่นั่ง เหมาะสำหรับการจัดปาร์ตี้ส่วนตัว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากลูกค้าระดับ VIP และลูกค้าองค์กร





ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์มีคุณค่า
โดยอ้างอิงองค์ประกอบของ
คุณค่าแบรนด์ทั้ง 4 ของ David Aaker

Brand Awareness

แบรนด์ Awareness เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เป็นแบรนด์ที่ใส่ใจละติดตามความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ใส่ใจในทุกๆเรื่อง เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้ารู้ว่าหนังดี น่าชม ปีนี้ทางบริษัทจะร่วมกับค่ายหนังหลายๆ ค่าย เพื่อช่วยกันโปรโมตภาพยนตร์ที่เข้าฉาย ไม่ว่าจะเป็นการทำโปรโมชัน จัดอีเวนต์ พรีเมียม และเรื่องราคา ผู้บริโภคเกิดความประทับใจและสามารถจดจำแบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้อย่างชัดเจน เพราะว่ามีการสื่อสารทางการตลาดกับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งการที่มีสาขาที่มาก ทำให้ผู้บริโภคได้เห็นแบรนด์ของเราชัดยิ่งขึ้น ทำให้สามารถจดจำได้อย่างดียิ่งมากกว่าไม่ค่อยเห็นสาขาของแบรนด์ ในระดับของ Brand Awareness Hierarchy ของแบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ถ้าไปสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภค คงจะไม่มีใคร ที่อยู่ตรงขั้น Unaware of Brand แต่อาจจะถึงขั้น Brand Recall หรือ Top of Mind เลยก็เป็นได้ อาจจะเป็นเพราะ ทุกวันๆนี้แบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีสาขาทั้งหมด 344 สาขา และเป็นแบรนด์ที่มีความ Differentiate ตั้งแต่วันแรก และแตกต่างจากคู่แข่งอ ย่างเห็นได้ชัด คู่แข่งส่วนมาก มักจะยึดชั้นบนสุดของศูนย์การค้าเป็นทำเลที่ตั้ง แต่แบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กลับแยกตัวออกตัวออกมาจากศูนย์การค้า และเลือกทำเลเป็นแสตนอะโลน ไม่ผูกติดกับผู้อื่น อีกทั้ง ยังมีพื้นที่ในส่วนชอบปิ้งเว็นเตอร์ให้ร้านรวงต่างๆ มาเปิดให้บริการ ซึ่งสามารถสร้างความครบเครื่องได้ไม่น้อย

แต่ก็ช่วงนั้นก็ยังก็ยังเป็นรองกับคู่แข่งอย่าง EGV หลายเท่านัก

กระทั่งการถือกำเหนิดของ เมเจอร์สุขุมวิท และ รัชโยธิน เมเจอร์ถึงได้ แตกต่าง จากอีจีวีอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเมเจอร์ รัชโยธิน

เหตุผลคือ ที่นี่วิชาสร้างสรรค์เมเจอร์จนครบเครื่องเป็นอย่ยิ่

เมเจอร์ รัชโยธิน มีโรงหนัง 14 โรงมีโบว์ลิ่ง ทันสมัย มีร้านรงอีกเป็นร้อย เมเจอร์มีโรงหนังสามมิติ นับว่าเป็นแห่งแรกในภูมิภาค ที่สำคัญการตกแต่งยังเป็นไปอย่างอลังการ มีที่คู่นั่งโอเปร่า

ซึ่ง Differentiate จน คู่แข่งพลิกตัวไม่ทัน กันเลยทีเดียว

ดังนั้น ด้วยความที่มีค

วามแตกต่างจากคู่แข่ง อีกทั้งแยกออกมาเป็นแสตนอะโลน และยังสามารถตอบนองได้ทุกความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค จึงทำให้บอกได้เลยว่า ระดับ ของ Brand Awareness ของแบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์จะต้องอย่ในระดับ แบรนด์ Brand Recall หรือ Top of Mind ลยก็เป็นได้ทีเดียว


Brand Loyalty

ด้วยการที่แบรนด์ แบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้มีการพัฒนาธุรกิจอยู่ตลอดเวลา โดยแบรนด์นี้มีจุดหลักในใจของเขาอย่างชัดเจนคือ จะต้องนำหน้าก้าวหนึ่งเสมอ แบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ใส่ใจในความเปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกประทับใจหลังจากการร่วมมีประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน การ ปรับคอนเซปต์ จากเมืองหนัง ให้เป็นศูนย์รวมของความบันเทิงแทน การปรับครั้งนี้มาจากสายตาของคุณ วิชา ที่ต้องการจับกลุ่มลูกค้าให้ได้ทั้ง พ่อ แม่ ลูก ซึ่งมีความใหญ่โตกว่าตลาดวัยรุ่นยิ่งนัก ซึ่งจะทำให้เมเจอร์มีกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาล และเมื่อทางแบรนด์ได้ขยายฐานไปสู่ตลาดครอบครัว เขาได้ปรับเปลี่ยนจากภาพลักษณ์เดิมๆว่า โรงหนัง คือ แหล่ง

มั่วสุม เป้นสิ่งที่ไม่ดี แต่เขาได้ลบภาพเหล่านั้น โดยการปรับมุมมืด มุมสลัว ให้มีสีสันสว่างขึ้น และยกเรื่องการบริการให้สูงขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ภาพดังกล่าวที่ว่าเป็นแหล่งมั่วสุมได้หายไปจากความคิดของกลุ่มผู้บริโภคแล้ว

และอีกอย่างที่เห็นได้ชัดว่าตอบสนองสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนคือ เขาเชื่อว่าคนยุคนี้ใกล้ชิดกับสื่ออิเล็กทรอนิคส์ในแบบสารพัดรูปแบบ ทั้งมือถือ อินเตอร์เน็ท รวมทั้งบัตรพลาสติกอย่างเครดิตการ์ด เขาเห็นว่าเทรนด์เป็นแบบนี้แล้ว เ

ขากพร้อมที่จะติดตาม โดยเปลี่ยนจากสายด่วนเพื่อจองตั๋วเข้าชมพัฒนาเป็นอี เอทีเอ็ม จองตั๋วผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นมูฟวี่ เมลล์ที่จะพร้อมส่งโปรแกรมใหม่เอี่ยมอ่องผ่าน E-mail ให้ทุกสัปดาห์ หรือการจองตั๋วผ่านอินเตอร์เน็ท

การพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เมื่อคนเห็นก็จะเกิดการบอกต่อเวลาเดียวกันเมเจอร์ได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำของตัวเองอย่างไม่หยุดยั้งอย่างเช่นการมีเครื่องฉายระบบดิจิตอล การเพิ่มจำนวนโรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับเมเจอร์อย่างไม่จบสิ้น

โดยที่สำคัญเรื่องสิ่งเหล่านี้ผู้บริโภคสามารถสัมผัสได้โดยตรง

กลายเป็นว่าทุกคนมองเมเจอร์เป็นหมายเลขหนึ่งไปหมดแล้วไม่เว้นแม้แต่คู่แข่งที่ยอมรับว่ายังห่างจากยักษ์ใหญ่รายนี้อีกหลายเท่าตัวและที่สำคัญคือ เมื่อผู้บริโภคเห็นภึงความเปลี่ยนแปลง เห็นถึงความตั้งใจจริง ผู้บริโภคก็จะให้รางวัลเรากลับคืนมาเอง และกลับมาใช้บริการของเราอีก โดยการที่เราต้องทำ Product ของเราให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ราก็จะเป็นผู้นำได้

ด้วยการที่แบรนด์เมเจอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่ตลอดเวลาแต่ยังอยู่ภายใต้ร่มความเป็นไปได้ของตนเอง โดยเปลี่ยนจาก เมืองหนัง เป็นศูนย์รวมแห่งความบันเทิง และยกระดับการบริการของตนเอง โดยทางแบรนด์ตอนที่เขาคิดเรื่องนี้เขาได้เอาตนเองไปเปรียบกับโรงแรมโดย อยากให้ตนเองนั้นเป็นได้ทั้ง 4 ดาว หรือ 5 ดาวในใจของผู้บริโภคโดยไม่ต่างกันเลยจากโรงแรมชั้นดี สู่โรงภาพยนตร์ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจสูง ซึ่งนั้นหมายความว่า เขาพยายามที่จะสร้าง ให้ผู้บริโภคมี Switching Cost ให้สูง เพื่อให้ผู้บริโภคอยู่กับเขาตลอดไป โดยทางแบรนด์พยายามที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ Product ของเขา สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และเมื่อผู้บริโภคเห็นเขาจะกลับมาหาเราเอง ซึ่งระดับความเป็น Brand Loyalty Pyramid ของผู้บริโภคที่มีแบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ อยู่ในใจนั้น ระดับของมันจะต้องเป็นไปตั้งแต่ Satisfies Buyer ขึ้นไปอย่างแน่นอน


Perceived Quality

ถ้าพูดทางด้าน Perceived Quality ของแบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ผู้บริโภคย่อมมีคุณค่าทางการรับรู้จากแบรนด์มาก ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งสถานที่อย่างหรูหรา มีเอกลักษณ์ ปรับเปลี่ยนจากภาพว่าโรงหนังเป็นแหล่งมั่วสุม ให้หายไปจากความคิดของผู้บริโภค โดยจะอธิบายให้ทราบดังนี้

Appearance รูปร่างวิธีการนำเสนอ ของแบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทั้งด้านบริการของพนักงานที่ดีเยี่ยมเปรียบเสมือนโรงแรมชั้นนำ การที่มีทำเลที่อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า การที่มีเทคโลโลยีใหม่ๆ innovation ใหม่ๆมีทั้งโรงหนังสามมิติ หรือการตกแต่งโรงภาพยนตร์ที่ดูหรูหรา โอ่อ่า

Reliability บริการของแบรนด์นี้สามารถพึ่งพาได้ แบรนด์ เมเจอร์ ซีน๊เพล็กซ์ พยายามนำแบรนด์ของเขาเข้าไปสู่วงจรของผู้บริโภค หรือปรับเปลี่ยนตัวให้ทันตามความต้องการ และ เทรนด์ ของผู้บริโภคตลอดเวลา อย่างยกตัวอย่างเช่น การที่เมื่อก่อนเขาจะแยกตัวออกมาเป็น แสตนอะโลน ไม่ไปเปิดที่ศูนย์การค้า เพราะว่าการไปเปิดบนศูนย์การค้าทำให้มีข้อจำกัดหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการฉายหนังรอบดึก ทำให้คนเข้าไปดูลำบาก แต่ยุคหลังก็ได้ยอมเข้าไปสร้างข้างในศูนย์การค้า หลังจากที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับแล้วและศูนย์การค้าต่างๆจะต้องทำตามคอนเซปต์ที่เมเจอร์วางไว้ด้วย

และอีกอย่างที่เห็นได้ชัดว่าตอบสนองสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างชัดเจนคือ เขาเชื่อว่าคนยุคนี้ใกล้ชิดกับสื่ออิเล็กทรอนิคส์ในแบบสารพัดรูปแบบ ทั้งมือถือ อินเตอร์เน็ท รวมทั้งบัตรพลาสติกอย่างเครดิตการ์ด เขาเห็นว่าเทรนด์เป็นแบบนี้แล้ว เขากพร้อมที่จะติดตาม โดยเปลี่ยนจากสายด่วนเพื่อจองตั๋วเข้าชมพัฒนาเป็นอี เอทีเอ็ม จองตั๋วผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นมูฟวี่ เมลล์ที่จะพร้อมส่งโปรแกรมใหม่เอี่ยมอ่องผ่าน E-mail ให้ทุกสัปดาห์ หรือการจองตั๋วผ่านอินเตอร์เน็ท คิดดูสิว่ามันจะทำให้ง่ายแค่ไหน เพราะเอทีเอ็มกับลูกค้าใกล้ชิดกันมากอยู่แล้ว หรือ การเน้นสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ทำระบบการให้บริการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ด้วยตนเอง เรียกว่า เอ็ม บ็อกซ์ ซึ่งขณะนี้ทดลองใช้อยู่ที่เอสพละนาด และสยามพารากอน และทำให้ทราบได้อย่างชัดเจนเลยจากผลว่าวันนี้ลูกค้ากว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ซื้อตั๋วโดยใช้ E-Ticket ซึ่งให้บริการแล้วในหลายสาขาของเมเจอร์ฯ เช่น เอสพลานาด สยามพารากอน จึงไม่ต้องมารอเข้าคิวซื้อตั๋ว แต่มีคนเข้าชมภาพยนตร์เต็มโรงหนัง เพราะมีการจองตั๋วล่วงหน้าผ่านออนไลน์ หรือเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ นี่คือ สิ่งที่ผู้บริโภคชอบ เพราะมีเวลาเหลือไม่ต้องรอเข้าคิว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เมเจอร์ฯ ทำจึงไม่ใช่การแค่ขายตั๋วแต่เป็นการขาย Service ขายความสะดวก ให้ลูกค้ามีความสุข มีการให้ความรู้และคำแนะนำกับผู้ใช้บริการ E-Ticket เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย เป็นการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ที่สร้างความคาดหวัง ความพึงพอใจ

และอีกอย่างที่แบรนด์ได้เข้าไปหาผู้บริโภค คือ แบรนด์เมเจอร์ฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น โดยส่งอีเมล์ไปยังฐานลูกค้า ให้ของสมนาคุณสำหรับผู้ใช้บริการออนไลน์ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ของจะเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งมีทั้งการแจกป๊อปคอร์น อัพเกรดที่นั่ง ให้สินค้าพรีเมียม และโปสเตอร์ เป็นต้น ในแต่ละสัปดาห์จะมีหนังเข้าโรง 4-5 เรื่องเป็นประจำ ดังนั้นการทำตลาดเชิงนี้เป็นสิ่งที่เมเจอร์ฯ ถนัด

กลุ่มเมเจอร์ฯ มี KPI ว่าไม่อยากให้คนใช้เวลาตีตั๋วเกินกว่า 5 นาที เพราะฉะนั้น การที่จะทำให้คนเข้าคิวรอแล้วไม่เกินเวลานี้ จึงไม่มีทางอื่นนอกจากเป็น E-Ticket จึงจะสามารถตอบโจทย์ได้ ส่วนการใช้เครื่องอัตโนมัติควรใช้เวลาต่อเครื่องไม่เกิน 30 วินาที สำหรับเลือกโปรแกรม ที่นั่ง และจ่ายเงิน โดยใช้โทรศัพท์มือถือชำระเงินแบบ Contact-less ซึ่งสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับคือ ความสะดวกสบาย

จากการวิเคราะห์จึงทำให้ทราบได้ว่า การเข้าหาลูกค้าของแบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สามารถสรุปได้ว่า ที่ผ่านมาผู้บริโภคจะเป็นผู้สร้างพฤติกรรมให้แก่ผู้บริโภค ไม่ใช่รอให้ผู้บริโภคมาขอแล้วจึงทำสิ่งเหล่านั้นให้


Competence จากที่กล่าวมาจากข้างต้น สามารถมั่นใจได้อย่างทันทีว่า แบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มีความประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะการที่ลูกค้าได้เห็นได้สัมผัสจากการมีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์แล้ว ทำให้เกิดการ Trust เมื่อมีการไว้วางใจ ก็สามารถทำให้รับรู้ได้ทันทีเลยว่า แบรนด์เมเจอร์ประสบความสำเร็จ และมีลูกค้าที่เป็น Brand Loyalty สูงด้วย สิ่งเหล่านี้เกิดจากการสั่งสมของความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคทั้งนั้น ที่ทำให้ทราบได้ว่า แบรนด์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์สามารถทำตามคำมั่นสัญญา แลตอบสนองความคาดคาดหวังให้กับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

Brand Associations

  • เนื่องจากแบรนด์ มีความเป็น Differentiate อย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนแรก คือ การที่แยกตัวออกมาแบบ แสตนอะโลน และการเป็นศูนย์รวมการบันเทิง ที่ไม่ใช่มีแค่โรงภาพยนตร์อย่างเดียว แต่มีสิ่งบันเทิงให้แก่ผู้บริโภคอย่างครบครันโดยเขาได้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ (Cinema) มาผสานกับศูนย์รวมความบันเทิง (Entertainment Complex) จนเกิดเป็น (Cineplex) ที่สอดรับกับการใช้ชีวิตของผุ้บริโภค ที่ไม่ได้แค่มีวัฎจักรแค่มาดูหนังเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีกิจกรรมอื่นๆไม่ว่าจะเป็น การกินข้าว การโยนโบว์ลิ่งต่อจากหลังดูหนัง เรียกว่าแตกต่างอย่างชัดเจนในสมัยยุคแรก
  • และ อีกอย่างหนึ่งที่ มีความแตกต่างอย่างชัดเจนเลยก็คือ แบรนด์เมเจอร์ซีนีเพล็ก เป็นแหล่งนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยี สามมิติ เข้ามาเป็นแห่งแรก หรือ อีกอย่างหนึ่งก็คือ แบรนด์เมเจอ ซีนีเพล็กซ์ ที่สร้างการเชื่อมโยงแก่ผู้บริโภคได้คือ การนำตนเองเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ ที่ในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราไปแล้ว หรือเปรียบอีกอย่างได้เลย โลกออนไลน์เปรียบเสมือนอากาศที่อยู่รอบตัวเรา เขาพยายามวิ่งเข้าหาผู้บริโภค พยายามเข้าไปสร้างความเชื่อมโยงแก่ผุ้บริโภค โดยมีคำพูดที่คุณจำเริญ ได้กล่าวไว้ว่า มีปลาที่ไหนก็ให้ไปจับปลาที่นั่น





การคุ้มครองแบรนด์ผ่านกฎหมาย (IP Protection)



การคุ้มครองแบรนด์ผ่านกฎหมายของ แบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ คงมีอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจดลิขสิทธ์ในเรื่องของ เอกลักษณ์ต่างๆที่เขาได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ หรือ ชื่อ เรื่องโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารซึ่งอาจเป็นความลับต่อการทำธุรกิจ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องไปจดทะเบียน ณ ที่สำนักงานคุ้มครองทางกฎหมายเพื่อปกป้องแบรนด์ของตัวเอง ถ้าการจะนำโลโก้ หรือชื่อเสียงของทางแบรนด์ไป แอบอ้างอย่างโดยไม่ได้อนุญาติ คาดว่า คงมีการดำเนินทางกฎหมายอย่างแน่นอน อย่างในปัจจุบันที่เห็นได้ชัดคือ มีการตรวจสอบเพื่อไม่ให้นำกล้องไปถ่ายบันทึกภาพยนตร์ที่ฉายภายในโรงภาพยนตร์ เืพื่อนำไปเป็นแผ่นซีดีเถื่อน นั่นคือ สิ่งที่ทำแล้วก็จัดเป็นการละเมิดเช่นกัน ทางแบรนด์เมเจอร์มีการจดทะเบียนคุ้มครองแบรนด์ผ่านกฎหมายไว้หลายอย่าง เพื่อป้องกัน และรักษาคุณค่าของแบรนด์ไม่ให้หายไป จากการที่ทางแบรนด์ได้สั่งสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน




อะไรเป็นแรงผลักดันความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย

ปัจจุบัน นี้ แบรนด์ไทยหลายแบรนด์ประสบความสำเร็จทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดภายนอกประเทศ ที่เขาสั่งสมรวมกันเป็นชื่อเสียงจนก่อให้ประสบความสำเร็จ ปัจจัยอะไรที่เป็นตัวสร้างและเป็นแรงผลักดันในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย มี 6 ประเด็นดังนี้

  • ความเป็นไทย
เป็นเพราะยี่ห้อไทยๆ แบรนด์ไทยๆ สร้างกับคนไทย แบรนด์นี้จึงสามารถอ่านใจผู้บริโภคได้ปรุโปร่งกว่าฝรั่ง เมื่อเวลาที่สามารถมองเข้าไปถึงจนทะลุถึงข้างใน สารพัดกลยุทธุ์ที่ออกมาก็จะสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนไทยในยุคนี้ ส่งผลทำให้แบรนด์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ผงาดขึ้นมาอยู่แถวหน้า

  • การมีทำเลที่ตั้งที่โดนใจ

เขายึดมั่นว่าสถานที่นั้นต้องอยู่ใกล้ชุมชน ใกล้สถานที่ศึกษา สถานที่ทำงาน ฯลฯ อะไรก็ได้ที่ไม่ไกลจากชุมชน เดินทางไปมาสะดวกสบาย มีรถเมล์ผ่านหลายสาย หรือใกล้รถไฟฟ้ายิ่งดี ซึ่งตอบสนองต่อความเป็นไปของคนในยุคนี้ คงไม่มีใคร จะเสาะหาการใช้บริการจากที่ๆไปมาได้ยาก

  • การมี Innovations ใหม่ๆ

การมีนวัตกรรมที่สามารถหามาปรนเปรอผู้บริโภคได้อย่างไม่ขาด ทั้งนี้เพื่อความตอกย้ำความเป็นผู้นำทางธุรกิจตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นโรงหนังสามมิติ ที่นั่งแบบโอเปร่าแชร์ การจองตั๋วระบบออนไลน์ การนำตัวเองเข้าไปผูกกับโลกออนไล์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพราะว่าในปัจจุบัน เวลาเป็นสิ่งสำคัญ บริการทุกอย่างต้องมีความสะดวกรวดเร็ว เมเจอร์ฯ ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้าให้หันมาใช้บริการตั๋วออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจะทำให้การซื้อบัตรชมภาพยนตร์ง่ายขึ้น สะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาต่อคิวหน้าโรงภาพยนตร์”

นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แบรนด์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ประสบความสำเร็จ เพราะเขาเลือกที่จะเข้าไปหาผู้บริโภค สร้างพฤติกรรให้กับผู้บริโภค มิใช่รอให้ผู้บริโภคมาร้องหา แล้วจึงค่อยสร้างมันขึ้นมา

  • การนำหน้าก้าวหนึ่งเสมอ !!!

เป็นอย่างไรบ้างกับเส้นทางเดินกับยี่ห้อไทยๆ นี้
รุ่นพ่อสร้างตำนาน มินิเธียร์เตอร์ แต่เมื่อส่งไม้ต่อผลัดสู่รุ่นลูก รุ่นลูกก็เป็นผู้สร้างมิติใหม่ให้กับโลกเซลลูลอยด์ด้วยรูปโฉมของศูนย์รวมความบันเทิงที่ครบวงจร ตามฉบับที่เรียกว่า Cineplex

เมื่อมาวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ความสำเร็จที่ทำให้เมเจอร์ผงาดขึ้น เป็นหมายเลขหนึ่ง ส่งผลให้ทั้งโกลเด้น ฮาเวส วิลเลจ โรดโชว์ จากออสเตรเลีย สองผู้ร่วมก่อตั้งอีจีวี ถอนสมอกลับบ้านไปในที่สุด ก็พอน่าจะสรุปได้ว่า Key success ของ แบรนด์ เมเจอร์ ก็คือ การพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้นำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ

  • การที่เจ้าของแบรนด์ยึดมั่นว่า ทุกอย่างหยุดนิ่งไม่ได้

เจ้าของแบรนด์ได้ให้เหตุผลไว้อย่างน่าฟังว่า เวลานี้ธุรกิจโรงหนังได้พัฒนาการไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว ขณะเดียวกันก็มีสายป่านเงินทุนที่ยาวพอ เพราะผู้บริโภคต้องการโรงหนังท่มีคุณภาพดีจริงๆ เห็นได้ว่าเท่าที่ผ่านมา เมเจอร์ไม่เคยหยุดนิ่ง ระหว่างที่เค้าจะรอเปิดโครงการใหม่ เขาก็จะหันไปปรับปรุงโรงเก่าที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างคุณภาพให้ยืนยาว และยังคงรักษาชื่อเสียงไว้ให้กับแบรนด์อย่างไม่ตกบกพร่อง

ยกตัวอย่างเช่น เมเจอร์ ซีนีเพล็กสาชา ปิ่นเกล้า ที่เขาลงทุนปรับโฉมไปแล้วสองครั้งสองครา
... ผมจะใส่โอเปร่าแชร์ ใส่ฮันนีมูนซีต เข้าไป ลดจำนวนที่นั่งลงบ้างเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับสาขาอื่นๆเพิ่มร้านค้าดีๆเข้าไปอีก หรือกับรัชโยธินที่เขาลงทุนกระทั่งเปลี่ยนพรมปูพื้นใหม่ เปลี่ยนพื้นหินอ่อนชั้นดี คิดวอลล์เปเปอร์ในห้องน้ำ กระทั่งลงทุนสร้างล็อบบี้นั่งรอไม่ต่างจากโรงแรมชั้นดี นี่คือสิ่งที่เจ้าของแบรนด์ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาเพื่อทำให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง เห็นถึงความตั้งใจจริง และผู้บริโภคจะให้รางวัลกลับคืนมาเอง และหันกลับมาใช้บริการของเราอีกนั่นเอง

  • การทำ Product ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

  1. แบรนด์ฺเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เวลาคิดกลยุทธ์เขาจะอิงกับผู้บริโภคอยู่เสมอ ไม่ใช่คิดลมๆแล้งๆ บางทีเข้าพยายามสร้างพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ใช่รอให้ผู้บริโภคเรียกร้องเสียก่อน
  2. เรื่องของการปรับปรุงภาพลักษณ์ที่ฝังอยู่ในใจของผู้บริโภคว่า โรงภาพยนตร์คือสิ่งที่เป็นแหล่งมั่วสุม เป้นแหล่งที่ไม่ดี ทางเจ้าของแบรนด์ก็ได้มีนโยบายที่พยายามลบสิ่งที่อยู่ในหัวของผู้บริโภค โดยการปรับเปลี่ยนจากมุมไหนที่มืด ก็เปลี่ยนให้สว่าง ปรับสี จึงทำให้ผู้บริโภคลืมเรื่องที่เป็นแหล่งมั่วสุมไปเสียหมดแล้วในยุคปัจจุบัน
  3. เขาพยายามปรับเปลี่ยนการบริการของพนักงาน โดยอิงจากระดับดาวของโรงแรม โดยพนักงานจะมีการบริการที่ดีเยี่ยม พูดจาไพเราะ หรือรวมทั้งชุดฟอร์มของพนักงานที่มีเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน
  4. การเข้าใจผู้บริโภค คนเราไม่ได้มาเพียงแค่ดูหนังเท่านั้น แต่เขายังต้องการมีกจกรรมอื่นๆอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มร้านค้าเข้าไป เพิ่มร้านอาหารเข้าไป มีลานโบลล์ลิ่ง มีคาราโอเกะ หรือเป็นไปอย่างที่เจ้าของแบรนด์ได้กว่าว่า เขาได้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ (Cinema) มาผสานกับศูนย์รวมความบันเทิง (Entertainment Complex) จนเกิดเป็น (Cineplex) ที่สอดรับกับการใช้ชีวิตของผุ้บริโภค ที่ไม่ได้แค่มีวัฎจักรแค่มาดูหนังเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีกิจกรรมอื่นๆไม่ว่าจะเป็น การกินข้าว การโยนโบว์ลิ่งต่อจากหลังดูหนัง จนทำให้แบรนด์เขาประสบความสำเร็จ แซงหน้า อีจีวี และเป็นที่หนึ่งในใจ เป้นตัวเลือกแรก ของคนต้องการไปดูหนังในที่สุด หรือไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีออนไลน์เข้าไปให้กับผู้บริโภค เพราะว่าเข้าใจผู้บริโภคว่า คงไม่อยากมีใคร ที่จะต้องยืนรอต่อแถวนานๆ เพื่อจะชมภาพยนตร์ คงอาจจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิดใจอย่างไม่น้อยเลยทีเดียว เค้าจึงเอาการจองตั๋วแบบออนไลน์เข้าไปหาผู้บริโภค นี่คือสิ่งที่เจ้าของแบรนด์เข้าใจ และ ตอบสนองความเป็นเปลี่ยนแปลงให้ทันเทรนด์ในยุคปัจจุบัน


เมื่อทำโปรดักส์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เราก็ทำให้ตอบโจทย์นี้ได้ว่า ...

คุณวิชายอมรับอย่างหน้าชื่นว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อน เมื่อตอน 4-5ปี ที่แล้ว เขารู้สึกวิตกกังวลกับนักลงทุนจากต่างประเทศมาก เพราะกลัวว่าฝรั่งพวกนี้จะขนเงินเป็นถุงเป็นถังมาไล่ถล่ม ซึ่งเขาคงไม่มีทางจะไปต่อกรอะไรได้

แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว !!!

"ผมเชื่อว่าวันนี้ ถ้าเขาได้มาดูว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง จะไม่มีสถาบันหน้าไหนกล้ามาลงทุนธุรกิจโรงหนังในประเทศไทยอย่างแน่นอน"

คุณวิชา พูลวรลักษณ์ บอกไว้แบบนั้น


แบรนด์ไทยๆแบรนด์นี้ช่างหัวใจเต็มร้อยเสียจริงๆ


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
หนังสือ ถึงเวลาบินปร๋อ ยี่ห้อไทยๆ เขียนโดย คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย



วิชา BD303 Brand Equity

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม Bobby sec. 3391


นาย ศิริพงษ์ จอกเกล็ด รหัสนักศึกษา 1500313729 เลขที่ 22
นาย จาฏุพจน์ สำรองกิจ รหัสนักศึกษา 1500314461 เลขที่ 23
นาย ฤทธาพร วงษา รหัสนักศึกษา 1500314602 เลขที่ 24
นาย ปราโมทย์ ขันติวณิช รหัสนักศึกษา 1500315468 เลขที่ 26
นาย ธนากร วิทูรกิจวานิช รหัสนักศึกษา 1500316003 เลขที่ 27
นางสาว พรไพลิน อัมพผลิน รหัสนักศึกษา 1500320393 เลขที่ 37